ระบบไฟฟ้าแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ ดังนี้
1. ระบบไฟฟ้า 1 เฟส - ระบบไฟฟ้าที่ใช้กันทั่วไปตามบ้าน หลอดไฟและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไปในบ้านเราใช้ไฟฟ้ากระแสสลับระบบ 1 เฟส ( 1- phase ) 2 สาย แรงดัน 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ โดยสาย ไฟ 2 สายที่ใช้กันตามบ้านนี้ สายหนึ่งจะมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่หรือเรียกว่าสายเคอร์เรนต์ ( current line ) ส่วนอีก สายหนึ่งจะเป็นสายที่เดินไว้เฉยๆ ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่หรือเรียกว่า สายนิวทรัล ( neutral line ) ดังจะเห็นได้จากปลั๊กไฟตามบ้านที่เห็นมีช่องเสียบอยู่ 2 ช่องนั้น ถ้าเอาไขควงสำหรับตรวจกระแสไฟฟ้าลองวัดดูจะเห็นได้ว่าช่องหนึ่งจะมีไฟแดงปรากฏ แสดงว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แต่เมื่อเวลาใช้งานกับหลอดไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้ร่วมกันทั้ง 2 สายเพื่อให้กระแสไฟฟ้าครบวงจรส่วนบางแห่งที่เห็นปลั๊กไฟมี 3 ช่องนั้นยังเป็นระบบไฟฟ้า แบบ 1 เฟสเหมือนกันแต่ช่องที่เพิ่มขึ้นมานั้นเป็นช่องที่ต่อกับสายดิน ( ground ) เพื่อให้กระแส ไฟฟ้าไหลลงดินเวลาเกิดไฟรั่วเป็นการเพิ่มความปลอดภัย และปลั๊กของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะใช้กับ ระบบสายดินนี้จะเป็นปลั๊กแบบ 3 ขาซึ่งในต่างประเทศถือเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป
ระบบไฟฟ้า 2 เฟส
2. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส - ระบบไฟฟ้า 3 เฟสเป็นระบบไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส ( 3 - phase ) 4 สาย แรงดัน 380 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ โดยที่ 3 สายจะเป็นสายที่มี กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน โดยทั่วไประบบไฟฟ้า 3 เฟสเป็นระบบที่ไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องจักรต่างๆใน โรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ เพราะเครื่องจักรเหล่านี้มักมีขนาดใหญ่จึงต้องการแรงดันไฟฟ้าที่สูง ไฟฟ้าระบบนี้ไม่สามารถนำมาใช้กับระบบแสงสว่างหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้านได้โดยตรง มาถึงตรงนี้ หลายคนคงจะสงสัยว่าเมื่อระบบไฟฟ้า 3 เฟสไม่สามารถนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆตามบ้านได้ โดยตรงแล้วจะเอามาแนะนำกันเพื่ออะไร ข้อสงสัยนี้สามารถอธิบายได้โดยไม่ยาก กล่าวคือ การนำ ระบบไฟฟ้า 3 เฟสเข้ามาใช้ในบ้านนั้นมิได้เป็นการใช้ไฟฟ้าทั้ง 3 เฟสกับอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชิ้นโดย ตรง แต่เป็นการนำไฟฟ้า 3 เฟสนั้นมาแบ่งแยกให้เป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด แล้วกระจายไป ตามจุดต่างๆที่มีการใช้ไฟฟ้า การกระจายจุดของการใช้งานเช่นนี้ทำให้ไฟฟ้าแต่ละเฟสไม่ถูกใช้งานมาก ถือเป็นการเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้า ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้า เพราะการคิดอัตราค่าใช้ไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยเป็น กิโลวัตต์ - ชั่วโมงจะคิดเป็นอัตราก้าวหน้า กล่าวคือยิ่งมีการใช้ไฟฟ้ามากก็จะยิ่งเสียค่าไฟฟ้าในอัตรา ที่สูงขึ้น ฉะนั้นการกระจาย การใช้ไฟฟ้าออกเป็น 3 ส่วนจากระบบไฟฟ้าที่นำเข้า 3 เฟสดังกล่าว จึงทำให้การใช้ไฟฟ้าในแต่ละส่วนหรือแต่ละเฟสน้อยลง จึงไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูง
ระบบไฟฟ้า 3 เฟส
การนำระบบไฟฟ้า 3 เฟสมาใช้นั้นจะเสียค่าใช้จ่ายในตอนต้นค่อนข้างสูง เช่น ค่าติดตั้ง ค่าประกันการใช้ไฟฟ้า แต่สามารถประหยัดค่าใช้ไฟฟ้าได้ในระยะยาวฉะนั้นบ้านหรืออาคารที่ติดตั้ง ระบบไฟฟ้าดังกล่าวจึงควรเป็นบ้านหรืออาคารที่ค่อนข้างใหญ่ มีการใช้ไฟฟ้าหลายจุดและเป็นปริมาณ มากจึงจะคุ้ม ถ้าเป็นบ้านหรืออาคารที่มีขนาดเล็กและมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าไม่มากควรติดตั้งระบบ ไฟฟ้าเฟสเดียวก็เพียงพอ
ซึ่งระบบแสงสว่างที่ใช้หลอดไฟโดยทั่วไปจะใช้ระบบไฟฟ้า 1 เฟส แต่ถ้าหากภายในโรงงานเป็นระบบไฟฟ้า 3 เฟสเข้ามาในโรงงานก็จะไม่สามารถใช้ไฟฟ้าทั้ง 3 เฟสกับหลอดไฟโดย ตรง แต่ต้องนำไฟฟ้า 3 เฟสนั้นมาแบ่งแยกให้เป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด แล้วกระจายไปตามจุดต่างๆที่มีการใช้ระบบแสงสว่างถือเป็นการเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้าทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้า โดยระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุดนี้ควรจะมีชนิด จำนวน และขนาดของหลอดไฟใกล้เคียงกันเพื่อให้เกิดสภาวะสมดุลในระบบไฟฟ้า
การแยกไฟฟ้าระบบ 3 เฟส เป็นระบบ 1 เฟส 3ชุด เพื่อใช้ในระบบแสงสว่าง
โดยปกติขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าที่จะขอติดตั้งได้จะมีขนาด 5(15) , 15(45) ,30(100) และ 50(150) แอมแปร์ ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าเฟสเดียว ตัวเลขที่อยู่ด้านซ้ายนอกวงเล็บหมายถึงกระแส ไฟฟ้าปกติสำหรับการใช้งานของระบบไฟฟ้าขนาดนั้นๆ ส่วนตัวเลขด้านขวาที่อยู่ภายในวงเล็บ หมายถึงกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ระบบไฟฟ้าสามารถทนได้ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) แอมแปร์ หมายความว่าขนาดของระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้สามารถรองรับการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ โดย รวมได้ 15 แอมแปร์อย่างปลอดภัยภายใต้สภาวะการใช้งานตามปกติ แต่จะสามารถทนกระแส ไฟฟ้าสูงสุดได้ถึง 45 แอมแปร์ในบางครั้งบางคราวเป็นระยะเวลาสั้นๆ เช่น ในขณะที่เปิดเครื่อง ปรับอากาศใหม่ๆ เครื่องปรับอากาศจะกินกระแสไฟฟ้ามากกว่าปกติ ถึงแม้ว่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้โดย รวมในช่วงเวลานั้นอาจจะสูงเกินกว่าระดับปกติบ้าง แต่ถ้าเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็จะไม่ก่อให้เกิด ปัญหาต่อระบบไฟฟ้าหรือการใช้ไฟฟ้าแต่ประการใด โดยปกติถ้าเป็นบ้านขนาดเล็กที่มีการติดตั้ง ดวงไฟและปลั๊กไฟเพียงไม่กี่จุดอาจใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาดแค่ 15(15) แอมแปร์ก็เพียงพอ ถ้ามี เครื่องปรับอากาศ 1-2 เครื่องก็อาจใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) แอมแปร์ แต่ถ้าเป็นบ้านที่มีการ ใช้ไฟฟ้ามาก เช่น มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศหลายเครื่องก็อาจจะต้องใช้ มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 50(150) แอมแปร์ หรือบ้านที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นไปอีกก็ควรจะพิจารณาขอติดตั้งระบบ ไฟฟ้า 3 เฟส ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำให้ได้ไฟฟ้าที่มีขนาดเป็น 3 เท่าของไฟฟ้าระบบเฟสเดียวตาม ขนาดตัวเลขแอมแปร์ข้างต้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเทียบเท่ากับได้ระบบไฟฟ้าเฟสเดียวตามขนาดตัว เลขแอมแปร์ข้างต้นเป็นจำนวน 3 ชุดนั่นเอง เช่น ถ้าติดตั้งระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย 30(100) แอมแปร์ 380 โวลต์ 1 ชุด ก็เทียบเท่ากับติดตั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย 30(100) แอมแปร์ 220 โวลต์ 3 ชุดนั่นเอง
การขอระบบไฟฟ้า 3 เฟสนั้นจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่า ใช้จ่ายสูงกว่าในตอนต้น แต่จะประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาว ในขณะที่การขอระบบไฟฟ้าเฟส เดียวจะสะดวกและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในตอนต้น แต่จะสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้ามากกว่าในระยะยาว โดยทั่วไปถ้าไม่มีการกำหนดหรือระบุถึงความต้องการเป็นกรณีพิเศษแล้วผู้รับเหมาก่อสร้างหรือช่าง ไฟฟ้าก็มักจะขอติดตั้งระบบไฟฟ้า เฟสเดียวให้โดยไม่คำนึงถึงว่าบ้านนั้นจะมีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามาก หรือน้อยเพียงใด เพราะเป็นการสะดวกและประหยัดในตอนต้น ฉะนั้นถ้าผู้ใดที่กำลังปลูกบ้านและ เห็นว่าการใช้ระบบไฟฟ้า 3 เฟสจะเป็นประโยชน์และเป็นผลดีต่อไปก็ควรจะกำหนดหรือระบุเอาไว้ เสียตั้งแต่แรก
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญและควรต้องระวังอย่างยิ่งก็คือ การแยกระบบไฟฟ้า 3 เฟสออกเป็น 3 ชุดเพื่อนำไปใช้งานตามจุดต่างๆ นั้น สายไฟแต่ละคู่ที่เดินไว้สำหรับการใช้งานตามจุดต่างๆ นั้นจะต้องเป็นระบบไฟฟ้าเฟสเดียวเท่านั้น นั่นคือสายไฟแต่ละคู่ที่เดินแยกออกมาจะต้องมีสายไฟ เพียงเส้นเดียวเท่านั้นที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ ส่วนอีกเส้นหนึ่งจะต้องไม่มีกระแสไฟฟ้า เป็นอย่าง นี้คู่กันเสมอ และจะต้องไม่เดินสายที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ทั้ง 2 เส้นคู่กันเป็นอันขาดเพราะจะทำ ให้แรงดันไฟฟ้า ณ จุดนั้นกลายเป็น 380 โวลต์ ซึ่งจะมีผลทำให้ดวงไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้งาน ณ จุดนั้นเกิดการชำรุดเสียหาย และยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้อีกด้วย ฉะนั้นหลัง จากการเดินสายไฟภายในบ้านควรมีการทดลองสายไฟที่เดินไว้ตามจุดใช้งานทุกจุดอย่างถี่ถ้วนว่าเป็น ระบบไฟฟ้าเฟสเดียวเพื่อป้องกันปัญหาและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
http://www.psjenergysave.com/